คำแนะนำสำหรับการฟื้นฟู ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในเด็ก

คำแนะนำสำหรับการฟื้นฟู ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในเด็ก

1) ข้อมูลเบื้องตัน (General Information)

โรคทางเดินหายใจ โรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วยเชื้อ Rhino-viruses adenoviruses และ Respiratory syncytial virus (RSV)

โรคนี้เป็นโรคที่หายได้เอง แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด เพราะเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปทางจมูก หรือระบบทางเดินหายใจจะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง มีการหลั่งของเมือกออกมาเป็นน้ำมูกทำให้หายใจไม่ออกและ ไอตามลำดับ อาจมีภาวะแทรกซ้อนถ้าเชื้อเข้าไปยังหลอดลม ปอด หรือเกิดโรคปอดบวมตามมา ซึ่งเป็นภาวะที่มีของเหลวคั่งค้างในปอดทำให้มีความผิดปกติในการไหลเวียนอากาศ ไม่สามารถขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ ปอดแลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน การหายใจผิดปกติ เหนื่อยง่าย และอาจถึงแก่ชีวิตได้

การรักษา ไม่มียารักษาเฉพาะ ให้รักษาตามอาการและพักผ่อนให้เพียงพอ ยาปฏิชีวนะจะเริ่มให้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียเช่น มีน้ำมูก หรือเสมหะเป็นสีเขียว การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเป็นการรักษาทางเลือกที่มีข้อบ่งชี้ในการทำดังนี้ มีภาวะเสมหะเหนียวข้น หรือมีปริมาณมาก เช่น ภาวะปอดอักเสบ, ภาวะหลอดลมอักเสบ, ภาวะปอดแฟบ เนื่องจากเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทารกแรกเกิด หรือเด็กเล็กที่มีเสมหะไม่สามารถไอขับเสมหะออกเองได้ เป็นต้น

การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะซึ่งปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจเนื่องจากผู้ป่วยไอขับเสมหะออกเองไม่ได้

2) ทางเลือกอื่น (Alternative Treatment)

  1. การรักษาทางกายภาพบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อระบายเสมหะออกให้มากที่สุด เพิ่มการไหลเวียนอากาศ และฟื้นฟูร่างกายให้คืน สภาพโดยเร็ว ในกระบวนการรักษานี้ต้องมีการจัดท่าเพื่อให้ของเหลวไหลออกมา การเคาะ สั่น เขย่าปอด การฝึกหายใจ การไอ อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการดูดเสมหะเพื่อระบายสารคัดหลั่งที่คั่งค้าง รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อการรักษา
  2. การปฏิบัติตัว หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ควรออกกำลังกาย พักผ่อน และเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม

3) ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา (Possible Risk and side effect of treatment)

อาจมีอาการหอบ เหนื่อย ไอมาก หลังจากการทำกายภาพบำบัดด้วยการเคาะปอด การดูดเสมหะ

4) การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง (Pre-Post Treatment /Procedure Instruction)

  1. การเตรียมผู้ป่วย
    • ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าที่หลวมสบาย เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายพร้อมสำหรับการทำกายภาพบำบัด ไม่ควรเป็นเสื้อผ้าที่มีกระดุม หรือมีซิบบริเวณทรวงอก และแผ่นหลังเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลขณะเคาะปอด
    • ผู้ป่วยได้รับการอธิบายกระบวนการที่จะได้รับการรักษา ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้น การสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้น
    • มีการวัดสัญญาณชีพ ก่อน ระหว่าง และหลังการทำกายภาพบำบัด
    • ควรทำก่อนอาหารหรือหลังทานอาหารประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงเพื่อหลีกเลี่ยงการอาเจียน และสำลักเอาเศษอาหารลงไปในหลอดลม
    • ในรายที่ได้รับการพ่นยาขยายหลอดลม ควรทำการพ่นก่อนการทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเสมหะ
  2. การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ
    • การจัดทำผู้ป่วยโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง จัดทำให้ปอดส่วนนั้นๆ อยู่ในแนวดิ่งจะทำให้เสมหะมีการเทไหลเคลื่อนออกมายัง หลอดลมขนาดใหญ่ และกระตุ้นการไอได้ ปอดกลีบบนให้จัดในท่านั่ง ปอดกลีบกลาง และล่าง ให้จัดในท่านอนศีรษะต่ำกว่า ทรวงอก
    • อาจใช้วิธีการเคาะปอด หรือสั่นปอดร่วมด้วย ในเด็กโต ใช้ระยะเวลาในแต่ละท่าประมาณ 3 - 5 นาที สำหรับทารกแรกเกิดใช้ เวลาท่าละ 2 - 3 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมดไม่เกิน 30 นาที

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง การจัดท่าให้ศีรษะต่ำเป็นข้อห้ามในกรณีต่อไปนี้ ความดันในสมองไม่คงที่ การทำงานของหัวใจไม่คงที่ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ภาวะหลังผ่าตัดที่ช่องท้องหรือทรวงอก ผู้ป่วยที่มีกระดูกซี่โครงหัผู้ป่วยที่มีสมรรถภาพการหายใจไม่ดี ผู้ป่วยมีแนวโน้มสำลักง่าย ผู้ที่มีภาวะอ้วนมาก ผู้ที่มีภาวะเหนื่อยง่าย

วิธีการ: การจัดท่าให้ผู้ป่วยควรให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายที่สุด และให้ผู้ป่วยไอได้สะดวก หรือทำการดูดเสมหะได้ง่าย โดย จัดท่าระบายเสมหะ ดังรูปภาพ

จัดท่านอนคว่ำ
จัดท่านอนคว่ำ
จัดท่านอนตะแคง
จัดท่านอนตะแคง
จัดท่านอนหงาย
จัดท่านอนหงาย
ตรวจประเมินฟังเสียงปอดหลังรักษา
ตรวจประเมินฟังเสียงปอดหลังรักษา

การประเมินสภาพผู้ป่วย / ข้อบ่งชี้ แบ่งได้ 2 กรณี คือ

  1. พบปัจจัยเสี่ยงต่อเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
    • ผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้
    • เสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียว
  2. อาการแสดงของเสมหะอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ
    • ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก
    • หายใจเสียงดัง หรือการได้ยินเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
    • อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
    • การฟังปอดได้เสียงผิดปกติ
    • ผิวหนัง เล็บมีอ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน

การรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอก

การเตรียมผู้ป่วย

  1. อธิบายวิธีการให้ญาติผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ความร่วมมือ
  2. การจัดท่าที่เหมาะสมในการดูดเสมหะ คือต้องจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อป้องกันการสำลัก
  3. เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการดูดเสมหะ ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้
    • ผู้ป่วยที่หายใจเอง ควรก ระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ 2-3 ครั้ง
    • ผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ควรให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง นาน 30 - 60 วินาที
  4. เพื่อปองกันการสำลัก อาเจียนเศษอาหารที่ยังไม่ย่อย ให้งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

การประเมินผลการดูคเสมหะ

ข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า การดูดเสมหะมีประสิทธิภาพ เช่น

  1. ปริมาณเสมหะลดลง
  2. อัตราการหายใจ และอัตราชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  4. ไม่มีเสียงเสมหะภายในหลอดลมของผู้ป่วย
  5. ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า ไม่มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน

การเคาะปอด (percussion)

การเคาะปอด จะทำมือเป็นรูปถ้วยและเคาะ เพื่อช่วยร่อนเสมหะที่คั่งค้างในทางเดินหายใจ ให้เคลื่อนตัวขึ้นมายัง ทางเดินหายใจส่วนต้น การเคาะปอดสามารถกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลมได้ ซึ่งจะทำให้ทารกขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นในทารกที่มีปัญหาหลอดลมเกร็งตัว ควรได้รับยาขยายหลอดลมก่อนการรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอก โดยเฉพาะ การเคาะปอดเสมอ ใช้เวลาเคาะปอดข้างละ 3 - 5 นาที

การสั่นปอด (Vibration)

การสั่นปอดจะเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นิยมใช้ ความรุนแรงน้อยกว่าการเคาะ และสามารถประยุกต์ใช้กับทารกที่ค่า สัญญาณชีพไม่คงที่ได้ การสั่นปอดจะช่วยบีบไล่ให้เสมหะเคลื่อนตัวมายังทางเดินหายใจส่วนต้น การสั่นปอดจะใช้ฝ่ามือช้าง เดียว หรือทั้งสองข้างวางบนทรวงอกของผู้ป่วย นักกายภาพออกแรง สั่นสะเทือนจากฝ่ามือไปบริเวณผนังทรวงอกขณะหายใจ เข้าช่วงท้ายและตลอดช่วงหายใจออก

การดูดเสมหะ (Suction)

เนื่องจากท่อทางเดินหายใจของเด็กแคบและสั้น ภายหลังจากการสั่นปอดและเคาะปอดจะทำให้เสมหะที่คั่งค้างอยู่ ในปอดออกมาสู่ท่อลมส่วนต้น หากเด็กไม่มีการไอ หรือไม่มีการดูดเสมหะออกนอกร่างกาย จะทำให้เกิดการอุดกั้นของท่อลม ได้ง่าย ทำให้สามารถขาดอากาศ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การดูดเสมหะจะสามารถดูดผ่านได้ทั้งทางปากและทางจมูก แรงดูดที่เหมาะสมในเด็กเล็ก 60 - 80 มิลลิเมตรปรอท เด็กโต 80 - 100 มิลลิเมตรปรอท

การประยุกต์เคาะปอดในท่านั่ง

การประยุกต์เคาะปอดในท่านั่ง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายได้ที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น
โทร: 043-042811

Privacy Settings